วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เครื่องวัดกรดด่าง DO700


เครื่องวัดกรดด่าง รุ่น DO700 แบรนด์ EXTECH

9-IN-1 METER WITH LAB PERFORMANCE DO,PH, MV, CONDUCTIVITY

คุณสมบัติ
  • วัด ค่า DO (ออกซิเจนละลายในน้ำ) / Oxygen Saturation , ค่า pH , ORP , TDS , ความนำไฟฟ้า , ความเค็ม , ความต้านทาน และ อุณหภูมิ
  • มีระบบชดเชยค่าความเค็มอัตโนมัติและชดเชยค่าความดันบรรยากาศแบบปรับค่าเอง เพื่อให้การวัดค่า DO ที่ถูกต้อง
  • สามารถปรับเทียบค่า pH ได้ด้วยปุ่มเดียว
  • ปรับเทียบค่า pH ได้สูงสุด 3 ค่า ด้วยน้ำยามาตฐาน pH Buffer Solution  เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวัดค่า

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เครื่องวัดความนำไฟฟ้า Conductivity CON900


เครื่องวัดค่าความนำไฟฟ้า รุ่น CON900 แบรนด์ AMTAST USA INC.

Conductivity Meter


รายละเอียด : 


  • วัดค่าความนำไฟฟ้า, TDS, ความเค็ม, ความต้านทานและอุณหภูมิ
  • ปรับค่าความนำไฟฟ้าหนึ่งจุด -  เครื่องจะจำค่าอัตโนมัติ 8 ค่าทั้งแบบสหรัฐอเมริกา ยุโรปและจีน
  • ระบบชดเชยอุณหภูมิอัตโนมัติ 
  • บรรจุหน่วยความจำได้ถึง 300 ค่าด้วยชุดตัวเลข,ค่าที่วัดได้และอุณหภูมิ
  • หน้าจอเรืองแสง LCD ขนาดใหญ่
  • ปิดอัตโนมัติช่วยประหยัดพลังานแบตเตอรี่กับฟังก์ชั่นปิดการใช้งาน
  • กันน้ำ
  • พร้อมด้วยด้วย Polymer Conductivity cell,น้ำยาปรับมาตรฐานค่าความนำไฟฟ้า,แบตเตอรี่และกระเป๋า

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

เครื่องวัดกรดด่าง EC900



เครื่องวัดค่าความนำไฟฟ้า รุ่น EC900 แบรนด์ AMTAST USA INC.

Conductivity Meter


คุณสมบัติ
  • วัดค่า DO ( ค่าความเข้มข้น/ค่าความอิ่มตัว ) , ค่า pH, mV, ค่าความนำไฟฟ้า,TDS, ความเค็ม, ความต้านทานและอุณหภูมิ
  • ปรับค่าความเค็มอัตโนมัติ และปรับค่าความกดอากาศสำหรับการวัด DO แบบ manual
  • สามารถปรับค่า pH ได้ในปุ่มเดียว ( ค่า 4, 7 และ10 pH )
  • สามารถเลือกปรับ pH ได้ 3 ค่า เพื่อให้การวัดมีความแม่นยำมากขึ้น
  • ปรับทียบค่าความนำไฟฟ้า 1 จุด – เครื่องจะจำค่าอัตโนมัติ 8 ค่า ทั้งในแบบของ อเมริกา, ยุโรป และจีน

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การนำไฟฟ้า (Conductivity)


   Conductivity หรือ การนำไฟฟ้า เป็นวิธีวัดความสามารถของน้ำในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าซึ่งเกิดจากมีอยู่ของสารประกอบอนินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำ เช่น แอนไอออนของคลอไรด์ไนเตรต ซัลเฟต และฟอสเฟต (แอนไอออนคือไอออนที่มีประจุลบ)
          สารประกอบอินทรีย์ เช่น น้ำมัน ฟีนอล แอลกอฮอล์ และน้ำตาล นำไฟฟ้าได้ไม่ดีนักและมีค่าการนำไฟฟ้าต่ำกว่าเมื่อละลายอยู่ในน้ำ การนำไฟฟ้ายังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิอีกด้วยถ้าอุณหภูมิสูงค่าการนำไฟฟ้าก็จะยิ่งมากขึ้น ด้วยเหตุผลเหล่านี้เองจึงรายงานค่าการนำไฟฟ้าที่อุณหภูมิ25 องศาเซลเซียส(25 C)
          นอกจากนี้การนำไฟฟ้าในแหล่งน้ำนั้นยังได้รับผลกระทบโดยตรงจากลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่ที่แหล่งน้ำนั้นไหลผ่านอีกด้วยโดยน้ำที่ไหลผ่านพื้นที่หินแกรนิตมักจะมีค่าการนำไฟฟ้าต่ำ เพราะว่าหินแกรนิตประกอบด้วยสารที่ไม่แตกตัวเป็นไอออนและน้ำที่ไหลผ่านชั้นดินจะมีการนำไฟฟ้าที่สูงเพราะว่ามีสารประกอบที่แตกตัวเป็นไอออน
          หน่วยพื้นฐานที่ใช้วัดการนำไฟฟ้า คือ โมห์ (mho) หรือ ซีเมนส์ (siemens) ค่าการนำไฟฟ้าวัดเป็นไมโครโมห์ต่อเซนติเมตร(µmhos/cm) หรือ โมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร (µs/cm) น้ำกลั่นมีค่าการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่าง 0.5 - 3 µmhos/cm แม่น้ำในประเทศสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่มีค่าการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่าง 50 – 1,500 µmhos/cmจากผลการศึกษาแหล่งน้ำจืดในประเทศสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่าแม่น้ำที่มีค่าการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่าง150 – 500 µmhos/cm จะเป็นประโยชน์ต่อการทำประมงแม่น้ำที่มีค่าการนำไฟฟ้าไม่อยู่ในช่วงดังกล่าวไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของปลาบางสายพันธุ์หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ สำหรับน้ำอุตสาหกรรมนั้นอาจมีค่าการนำไฟฟ้าสูงได้ถึง10,000 µmhos/cm
       
เครื่องมือวัด EC Meter  และ การเก็บตัวอย่าง
       
          ค่าการนำไฟฟ้ามีประโยชน์ในการตรวจวัดคุณภาพแหล่งน้ำ เมื่อติดตามเฝ้าระวังมักพบว่าแหล่งน้ำแต่ละแหล่งจะมีพิสัยของค่าการนำไฟฟ้าค่อนข้างคงที่และสามารถนำมาใช้เป็นค่าพื้นฐานของสภาพแหล่งน้ำในภาวะปกติได้ การเปลี่ยนแปลงของค่าการนำไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญสามารถเป็นตัวชี้วัดว่าน้ำทิ้งหรือมลพิษจากแหล่งอื่นได้ไหลลงสู่แหล่งน้ำนั้นๆ
          การวัดค่าการนำไฟฟ้าทำได้โดยการใช้หัววัด (probe) และเครื่องวัด (EC meter) โดยการใส่แรงดันไฟฟ้าระหว่างขั้วไฟฟ้าสองขั้วในหัววัดซึ่งจุ่มลงไปในน้ำการลดลงของแรงดันไฟฟ้าซึ่งเกิดจากการต้านของน้ำจะนำไปใช้คำนวณค่าการนำไฟฟ้าต่อเซนติเมตรเครื่องวัดจะแปลงค่าเป็นไมโครโมห์ต่อเซนติเมตร และแสดงผลให้ผู้ตรวจวัดทราบ เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้าบางชนิดสามารถใช้ตรวจวัดปริมาณของแข็งละลายน้ำ(Total dissolved solids; TDS) และความเค็ม (Salinity) ได้ โดย TDS จะวัดได้เป็นมิลลิกรัมต่อลิตร (mg/L)และสามารถคำนวณได้จากการนำค่าการนำไฟฟ้าคูณด้วยค่าคงที่ระหว่าง 0.55ถึง 0.9 ซึ่งเป็นค่าที่ได้จากการทดลอง (Standard Method#2510, APHA1992)